sbtc
กรุณาป้อน username และ password เพื่อเข้าสู่ระบบ

Join the forum, it's quick and easy

sbtc
กรุณาป้อน username และ password เพื่อเข้าสู่ระบบ
sbtc
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความสำคัญของการอ่าน

Go down

ความสำคัญของการอ่าน Empty ความสำคัญของการอ่าน

ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Jun 14, 2011 1:12 am

ความสำคัญของการอ่าน

การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง กล่าวคือเป็นการรับรู้เรื่องราวโดยใช้สายตามองดูตัวอักษร แล้วสมองก็จะลำดับเป็นถ้อยคำ ประโยค และข้อความต่าง ๆ เกิดเป็นเรื่องราวตามความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน การอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้า และความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้ทันต่อเหตุการณ์ ฉะนั้นการอ่านจึงเป็นความจำเป็นต่อชีวิต ของทุกคนในปัจจุบัน
การอ่านมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะการอ่านทำให้เราได้รับความรู้ความเพลิดเพลินมีความคิดทันโลก ทันเหตุการณ์ และเข้าสังคมได้ดี
การอ่านมีความสำคัญต่อสังคม เพราะคนในสังคมจำนวนมากจะได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน และความจรรโลงใจจากการอ่าน ฉะนั้น สารที่อ่านในโอกาสสำคัญต่าง ๆ จะผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไม่ได้ เพราะมักมีผู้นำไปอ้างอิงหรือเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่เสมอ หากผิดพลาดก็จะเป็นผลเสียหายได้ นอกจากนี้เมื่อเราจะอ่านให้ผู้อื่นฟังเราก็ควรอ่านให้น่าฟังคือ
1. อ่านให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทที่อ่านนั้นครบถ้วนทั้งสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรอง ๆ ลงไป

2. อ่านให้ผู้ฟังสนใจฟังอยู่ตลอดเวลา

ประเภทของการอ่าน

การอ่าน เป็นวิธีสื่อสารที่เป็นได้ทั้งการส่งสารและการรับสาร การอ่านแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การอ่านออกเสียง

วิธีอ่านออกเสียงประกอบด้วย

1. อ่านออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน
2. อ่านเสียงดัง ฟังได้ทั่วถึง
3. อ่านให้เป็นเสียงพูดธรรมชาติ
4. รู้จักทอดจังหวะและลมหายใจ

ฯลฯ
การอ่านออกเสียงเป็นได้ทั้งการรับสารและการส่งสาร ส่วนการอ่านในใจจะเป็นได้เฉพาะการรับสารเพียงทางเดียวเท่านั้น
การอ่านออกเสียง หมายถึงการอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียง การอ่านออกเสียงมักไม่นิยมอ่านเพื่อการรับสารโดยตรงเพียงคนเดียว เว้นแต่การอ่านบทประพันธ์เป็นท่วงทำนองเพื่อความไพเราะเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่การอ่านออกเสียงมักเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง
การอ่านออกเสียงให้ผู้อื่นฟัง จะต้องอ่านให้ชัดเจน ถูกต้องได้ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ มีลีลาการอ่านที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบ
2. การอ่านในใจ

วิธีอ่านในใจประกอบด้วย

1. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
2. กะช่วงสายตาให้ยาว
3. ไม่อ่านย้อนไปย้อนมา
4. ไม่ออกเสียงเวลาอ่าน

ฯลฯ
การอ่านออกเสียงโดยทั่วไปนั้น
มีทั้งการอ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง การอ่านแต่ละชนิดมีข้อควรปฏิบัติแตกต่างกัน
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ควรปฏิบัติดังนี้

1. ออกเสียงให้ดังชัดเจนถูกต้อง เพราะถ้าออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายผิดไปด้วย
2. อ่านเว้นวรรคตอนให้กว้าง ๆ อย่าแบ่งช่วงสั้นเกินไป จะทำให้เสียจังหวะการอ่าน
3. อ่านให้ถูกต้องตามหลักภาษา เช่น การอ่านอักษรนำและคำสมาส เป็นต้น
4. อ่านให้มีเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ หลายระดับ เหมือนพูดคุยตามปกติ
5. ไม่อ่านช้าจนน่ารำคาญหรืออ่านเร็วจนลิ้นรัวไม่ชัดเจน

การอ่านออกเสียงร้อยกรอง หรือการอ่านทำนองเสนาะ เป็นการอ่านที่ทำให้เสียงเสนาะหู น่าฟัง มีทำนองลีลามีการใช้เสียงและมีจังหวะแตกต่างกันไปตามชนิดของบทร้อยกรอง มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. นำบทร้อยกรองที่จะต้องอ่านทำนองเสนาะมาศึกษาเสียก่อนว่าเป็นบทร้อยกรองประเภทใด
2. ศึกษาลักษณะบังคับของบทร้อยกรองประเภทนั้น ๆ เพื่อจับจังหวะสัมผัสและศึกษาลีลาการอ่าน
3. ฝึกอ่านออกเสียงธรรมดาก่อน แล้วจึงหัดจับจังหวะ จับสัมผัสและออกเสียง
4. ก่อนอ่านทำนองเสนาะ ควรฟังตัวอย่างการอ่านหลาย ๆ ครั้ง แล้วหัดออกเสียงตาม
5. ใช้เสียงให้เหมาะกับบรรยากาศของข้อความที่อ่าน เช่น รัก โศก ปลุกใจ
6. เมื่ออ่านทำนองเสนาะได้แล้ว ควรฝึกซ้อมอยู่เสมอเพื่อให้คล่องและจำได้

จุดมุ่งหมายของการอ่าน

การสื่อสารด้วยการอ่านหนังสือทุกครั้ง ผู้อ่านจะต้องมีการตั้งจุดประสงค์การอ่านเสมอ จุดประสงค์ของการอ่านแต่ละครั้งอาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ จุดประสงค์โดยทั่วไปของการอ่านได้แก่1. การอ่านเพื่อจับใจความ เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ทำให้เข้าใจเรื่องได้ครบถ้วนตรงตามที่ผู้เขียนต้องการอย่างรวดเร็ว
การฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายของคำและสำนวนในเรื่อง สามารถลำดับเหตุการณ์ และลำดับความคิดแยกได้ว่า ใจความใดเป็นความสำคัญและใจความใดเป็นใจความรอง
2. การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นับเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านที่พึงปฏิบัติและมีประโยชน์อย่างยิ่งแต่การที่จะเพิ่มคุณค่าและประโยชน์ให้กับ การอ่านนั้น ผู้อ่านควรจดบันทึกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน และสามารถแนะนำหนังสือที่น่าอ่านแก่ผู้อื่นได้ด้วย

3. การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือ รู้จักใคร่ครวญ พิจารณาเรื่องที่อ่านอย่างละเอียด ลึกซึ้งในด้านต่างๆเป็นการอ่าน ที่ต้องอาศัย ความสามารถในการคิดพิจารณาหาเหตุผลมาประกอบ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะด้านการอ่านขั้นสูง จึงควรฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใน
ชีวิตประจำวันได้ การอ่านอย่างมีวิจารณาญาณจะสามารถบอกจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ บอกความหมายของคำและสำนวน ในเรื่อง ที่อ่านได้ วิเคราะห์ส่วนต่าง ๆ ของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ชัดเจน อธิบายกลวิธีการเขียนได้ และบอกคุณค่าของเรื่องที่อ่านได้

ประโยชน์ของการอ่าน

การสื่อสารปัจจุบันยังต้องอาศัยการอ่านเป็นหลักสำคัญในการติดต่อสื่อความหมาย ด้วยเหตุนี้การอ่านจึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ประโยชน์ของการอ่านได้แก่
ได้ความรู้ เพราะการอ่านทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ให้เกร็ดความรู้หรือความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ทางวิชาการ หรือสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง
ได้ความบันเทิง เพราะการอ่านทำให้ผู้อ่านเกิดความพอใจ ความเพลิดเพลิน และมีความสุขใจ อันเกิดจากเนื้อเรื่องหรือความไพเราะของถ้อยคำที่ได้อ่าน
ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพราะการใช้เวลาว่างด้วยการอ่านเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านที่ควรปฏิบัติ และมีประโยชน์อย่างยิ่งแต่การที่จะเพิ่มคุณค่าและประโยชน์ให้กับการอ่านนั้น ผู้อ่านควรรู้จักวิธีการจดบันทึกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านและสามารถแนะนำหนังสือที่น่าอ่านแก่ผู้อื่นได้ การอ่านยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกมาก ทั้งนี้ประโยชน์จะได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่านด้วย




พี่พูดพูดเขาขาดแล้วหวาดจิต พี่ขาดมิตรมาไกลถึงไพรสัณฑ ์
นึกเฉลียวเสียวทรวงถึงดวงจันทร์ จะขาดกันเสียเหมือนเขาพี่เศร้าใจ
แล้วย่องเหยียบเลียบเนินลงเดินล่าง ตามแนวทางห่มวาพฤกษาไสว
เห็นพุ่มพวงบุปผายิ่งอาลัย สลดใจขุกคิดถึงคู่เคียง
ไม้แก้วกางกิ่งพิงกับกิ่งเกด ฝูงในเรศขันขานประสานเสียง
น้ำตาคลอท้ออกเห็นนกเรียง เหมือนเรียมเคียงร่วมคู่เมื่ออยู่เรือน
ระกำป่ากาหลงกะลิงจับ ระกำกับเราระกำก็จำเหมือน
เห็นไม้จันทน์พี่ยิ่งฟั่นอารมณ์เฟือน เหมือนจันทน์เตือนใจตัวให้ตรอมใจ
โอ้นามไม้หรือมาต้องกับน้องพี่ ขณะนี้นึกน่าน้ำตาไหล
เจ้าอยู่เรือนชื่อเชือนมาอยู่ไพร เหมือนเตือนใจให้พี่ทุกข์ทุกย่างเดิน

(ตัดตอนมาจาก นิราศพระบาทของสุนทรภู่)
วิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพ

การอ่านที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี ในที่นี้ขอเสนอวิธีการอ่านโดยกำหนดแผนภูมิโครงเรื่องจากสิ่งที่ได้อ่านดังต่อไปนี้
ตัวอย่างเรื่องที่อ่าน กระต่ายกับเต่า

บ่ายวันหนึ่งเต่าค่อย ๆ คลานไปตามทางอย่างเชื่องช้า กระต่ายวิ่งสวนทางมามองดูแล้วหัวเราะขบขันกระต่ายจึงร้องทักว่า
“หาอะไรอยู่ ของตกหายหรือจะไปธุระ” เต่าโกรธ กระต่ายจึงเยาะเย้ยต่อไปว่า “เดินอย่างนี้จะไปหาพบหรือ”เต่าจึงร้องท้าไปว่า
“มาวิ่งแข่งกันเอาไหม” กระต่ายดีใจ และรับคำท้า กระต่ายจึงไปชวนสุนัขจิ้งจอกมาเป็นผู้ตัดสินพอได้ยินสัญญาณกระต่ายจึงออก
วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เต่าค่อย ๆ คลานไปด้วยความตั้งใจกระต่ายวิ่งไปได้สักครู่ เห็นหญ้าขนขึ้นงามดี วิ่งมาไกลแล้ว จึงกินหญ้า และนอนหลับฝันไป เต่าเดินไป คิดไปว่า เราคงแพ้แน่ ๆ แต่ยังคงเดินต่อไปอย่างไม่ท้อถอย เต่าเดินผ่านทุ่งหญ้าสวยงามกระต่ายตื่นขึ้นมา และนึกขึ้นได้ว่า กำลังแข่งขัน จึงรีบวิ่งไปยังหลักชัย แต่พบเต่ากับสุนัขจิ้งจอกรออยู่ก่อนแล้ว
เมื่ออ่านเรื่อง “กระต่ายกับเต่า” จบแล้วขอให้ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน โดยใช้คำนำหน้าคำถาม ได้แก่ ใคร ทำอะไร ทำไม เมื่อไร ที่ไหน และ “อย่างไร” ตามหลังคำถาม คำทั้ง 6 ที่มีอยู่ในคำถามเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นเร้าให้อยากรู้ความเป็นไปตามลำดับ จะช่วยเพิ่มพูนให้อยากรู้มากขึ้น ๆ และจะได้คำตอบซึ่งพอสรุปสาระได้ 2 ประการ คือ
1. ความคิดหลัก คือ เต่าชนะกระต่าย
2. ความคิดรอง คือ

กระต่าย : วิ่งเร็ว หยุดกินหญ้า หลับไป มาถึงช้า
เต่า : คลานช้า คลานไป ไม่หยุด มาถึงก่อน
จากตัวอย่างดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านรู้จักและเข้าถึงรูปแบบการเรียบเรียง ความคิดหลัก ความคิดรอง ความคิด
รายละเอียด และความสัมพันธ์ระหว่างความคิดแต่ละชนิดของผู้เขียนเป็นอย่างดี จึงรับรู้จดจำเรื่องราวอย่างไม่ลืมเลือน
Admin
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ จำนวนข้อความ : 76
เงิน เงิน : 2147717297
ชื่อเสียง น้ำใจ ชื่อเสียง น้ำใจ : 0
วันที่สมัคร วันที่สมัคร : 13/06/2011

Character sheet
พลัง:
ความสำคัญของการอ่าน Left_bar_bleue5000/5000ความสำคัญของการอ่าน Empty_bar_bleue  (5000/5000)

https://sbtc.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ