sbtc
กรุณาป้อน username และ password เพื่อเข้าสู่ระบบ

Join the forum, it's quick and easy

sbtc
กรุณาป้อน username และ password เพื่อเข้าสู่ระบบ
sbtc
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

พายุฝนดาวตก

Go down

พายุฝนดาวตก Empty พายุฝนดาวตก

ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Jun 14, 2011 1:27 am

นักดาราศาสตร์ประมาณการโอกาสเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ในไทยสูงสุดช่วงเวลาประมาณ 04.43 น.ของเช้าวันที่ 18 พ.ย.อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง! เยาวชนและผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านดาราศาสตร์ได้ฟรี!


ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่ดูสวยงาม น่าสนใจ น่าตื่นเต้น และสามารถดูได้ง่ายด้วยตาเปล่า อีกทั้งยังเป็นการศึกษาเรียนรู้และเข้าใจเรื่องของธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สาเหตุของการเกิดฝนดาวตก เกิดจากดาวหางซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่ประกอบด้วยฝุ่นหินเกาะกลุ่มกันจำนวนมาก เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ก้อนน้ำแข็งจะเกิดการระเหิด ทิ้งแนวฝุ่นหินเป็นสายธารยาว เมื่อโลกโคจรเข้าไปตัดกับสายธารดังกล่าวนี้ เศษฝุ่นหินก็จะเคลื่อนตัววิ่งเข้ามาในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วสูง และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ปรากฏเป็นขีดแสงสว่างให้เราเห็น ที่เราเรียกว่า “ฝนดาวตก” นั่นเอง

กรณีของฝนดาวตกลีโอนิดส์หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตนี้ เกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งโดยปกติ คาบการโคจรของดาวหางดวงนี้คือ 33.2 ปี ซึ่งในปีที่ครบรอบคาบการโคจรของดาวหาง ก็จะเป็นการมาเติมเศษฝุ่นหินให้มากยิ่งขึ้น และเมื่อโลกโคจรผ่านเข้าไปในใจกลางสายธารของมัน ในปีนั้นโอกาสจะเกิดฝนดาวตกก็จะมีมากกว่าปีปกติ เราจึงเรียกว่าปรากฏการณ์ “พายุฝนดาวตก” ซึ่งจากบันทึกในอดีต ดังตัวอย่างในปี ค.ศ. 1966 ที่ฮาวาย ได้เกิดพายุฝนดาวตกที่มีอัตราการตกมากถึง 5-6 หมื่นดวงต่อชั่วโมง สำหรับชื่อของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ก็มาจากการอ้างอิงกับแหล่งการเกิด คือ กลุ่มดาวสิงโต นั่นเอง คือแม้เราจะเห็นฝนดาวตกในทิศทางต่างๆ กัน แต่เมื่อเราลองลากเส้นย้อนกลับไปยังแหล่งการเกิดแล้ว ฝนดาวตกทุกดวงจะมาจากกลุ่มดาวสิงโต

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. กล่าวว่า “สำหรับในช่วงวันที่ 17-18 พ.ย.นี้ แม้จะไม่ใช่รอบปีของการเกิดพายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่เราก็จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกในอัตราความชุกมากกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากการคำนวณของนักดาศาสตร์หลายสำนัก พบว่า โลกจะโคจรตัดผ่านเศษซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ถึงสองสายธารด้วยกัน ที่ทิ้งร่องรอยไว้ในปี ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยอัตราการตกราว 100-500 ดวงต่อชั่วโมง (อ้างอิงที่เมื่อกลุ่มดาวสิงโตมาอยู่ที่จุดกลางฟ้าเหนือศีรษะ) แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเห็นฝนดาวตกตลอดทั้งชั่วโมง และจำนวนฝนดาวตกที่เห็นก็ไม่ได้เห็นมากถึง 500 ดวง ตัวอย่างเช่น อัตราการตกที่ 400 ดวงต่อชั่วโมง เราเห็นแค่ช่วงเวลา 15 นาที นั่นคือ ในช่วงชั่วโมงนั้น เราจะเห็นดาวตกประมาณ 100 ดวง ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว”

สำหรับช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกสูงสุดในครั้งนี้ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา กล่าวว่า “ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ดาวตกลูกสวยๆ มักจะมาตอนประมาณห้าทุ่ม เป็นเวลาที่กลุ่มดาวสิงโตเพิ่งขึ้นจากขอบฟ้า คือจะเห็นเป็นไฟร์บอลล์ (ดาวตกดวงใหญ่) วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นลำสว่างทางยาวคล้ายรางรถไฟ ซึ่งความเร็วยังไม่สูงมาก ทำให้เราเห็นได้ง่าย สำหรับช่วงพีคสูงสุดของการตก นักดาศาสตร์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า คือเป็นเวลาประมาณ 04.43 น. ตามเวลาในบ้านเราของเช้าวันที่ 18 พ.ย.อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งช่วงนั้นจะป็นเวลาที่ดาวสิงโตจะอยู่บริเวณกลางฟ้าพอดี นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การชมมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของโอกาส เพราะถึงเวลาจริง เราอาจจะเห็นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้”
พายุฝนดาวตก 177399
พายุฝนดาวตก 177400
Admin
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ จำนวนข้อความ : 76
เงิน เงิน : 2147717347
ชื่อเสียง น้ำใจ ชื่อเสียง น้ำใจ : 0
วันที่สมัคร วันที่สมัคร : 13/06/2011

Character sheet
พลัง:
พายุฝนดาวตก Left_bar_bleue5000/5000พายุฝนดาวตก Empty_bar_bleue  (5000/5000)

https://sbtc.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ